Categories
knowledge

รู้ยัง ออฟฟิศซินโดรมไม่ได้มีแค่ปวดหลัง รีบรักษาก่อนบานปลาย

ออฟฟิศซินโดรม รีบรักษาให้ถูกก่อนสาย

ในยุคสมัยนี้โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ดูเหมือนจะเป็นโรคที่อยู่คู่กับคนสมัยใหม่มากพอควร เพราะด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป คนส่วนใหญ่ไม่เน้นขยับตัวหรือเคลื่อนไหวร่างกายมากเท่าไหร่ แต่กลายเป็นก้มหน้าก้มตาทำงานหรือก้มดูมือถือบ่อย ๆ แทน โดยอาการเริ่มแรกของออฟฟิศซินโดรมที่หลายคนพอทราบ นั่นคือเริ่มรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก และบริเวณหลัง ซึ่งการนวดอาจช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้ แต่ทว่าเมื่อผ่านไปสักระยะมันก็สามารถกลับมาได้อีก มิหนำซ้ำหากปล่อยทิ้งไว้ยังเกิดอาการเรื้อรังได้ด้วย

ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนไปเจาะลึกโรคยอดฮิตนี้ ที่จะทำให้คุณรู้ว่าออฟฟิศซินโดรมไม่ได้มีแค่อาการปวดหลัง เพื่อให้คุณเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ไม่กระทบต่อไมเกรน หรือโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่รุนแรงอย่างทันการ

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมไปถึงอาการปวดหรือชาจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานในออฟฟิศหรือทำงานตรงหน้าขอคอมพิวเตอ์หรือมือถือเป็นประจำ โดยไม่ได้มีการขยับร่างกาย เคลื่อนไหวอย่างพอเหมาะ อยู่ด้วยท่าทางเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน นอกจากนี้อาจเกิดขึ้นได้หากอยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งไขว่ห้าง การนั่งงอตัว หรือการก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

ซึ่งหากมีอาการออฟฟิศซินโดรมแล้วปล่อยไว้ ไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจจะเกิดเป็นผลเสียร้ายแรงตามมาได้ เช่น เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แขนขาอ่อนแรง และกระดูกสันหลังคด สำหรับอาการออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อยไม่เพียงแต่มีอาการปวดหลังเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมอาการเหล่านี้

  1. ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด : เป็นกลุ่มอาการยอดฮิต โดยจะเริ่มตั้งแต่อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตรงบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก และสะโพก มักเป็นอาการเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด
  2. เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ : จะเกิดขึ้นจากการมีพังผืดตรงบริเวณข้อมือ ทำให้เส้นประสาทบริเวณดังกล่าวถูกกดทับ ปวดและชาที่นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือแขน
  3. นิ้วล็อค : เกิดมาจากการออกแรงบริเวณนิ้วมือมาก ๆ และบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการเสียดสีจนอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นของนิ้วมือ มักพบอาการนี้ในกลุ่มคนที่ทำงานเป็นแม่บ้าน
  4. เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ : จะเกิดอาการบวมหรือเจ็บตรงบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ มักเกิดขึ้นตรงหัวไหล่ ข้อศอก ข้อเท้า ข้อเข่า และข้อมือ ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากจากการเกิดอุบัติเหตุ การกระแทก การใช้งานรุนแรง หรือการใช้งานบ่อยครั้งเกินไป ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดตรงบริเวณดังกล่าว
  5. อาการตาแห้ง : เกิดจากต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ โดยสาเหตุอาจมาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมือถือนานเกินไป
  6. อาการปวดตา : เนื่องจากจ้องหน้าจอหรือมือถือนานเกินไปโดยไม่ได้พักสายตา ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง อาการปวดตามักก่อให้เกิดอาการปวดหัวตามมาได้
  7. อาการปวดหัว : อาการปวดหัวจากออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการลุกลามของปัญหากล้ามเนื้อบริเวณบ่าที่ตึง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงส่วนหัวได้สะดวก หรือบางครั้งอาจเกิดจากอาการปวดตาหรือตาแห้ง แล้วร้าวไปถึงหัวได้ บางคนอาจรุนแรงเป็นอาการปวดหัวไมเกรน
  8. อาการปวดหลัง : เป็นอาการปวดหลังที่เกิดจากท่ายืนหรือท่านั่งไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน หรือมีการใช้กล้ามเนื้อหลังที่รุนแรงเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ

ทั้งหมดนี้เป็น 8 อาการออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับกลุ่มพนักงานออฟฟิศเท่านั้น แต่อาชีพอื่น ๆ หรือคนที่มีกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม ก็มีความเสี่ยงที่จะเจ็บปวดได้เหมือนกัน ดังนั้นเลือกทำประกันสุขภาพเอาไว้ หากเกิดอะไรขึ้นมาจะได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและมีเงินสำรองจ่ายที่เพียงพอ

Categories
knowledge

เล่นเกม – ดูหนังมากเกินไป เสี่ยงเบาหวาน หัวใจ โรคอ้วนจริงไหม

ความบันเทิงอย่างการเล่นเกม ดูหนัง เป็นทางเลือกความบันเทิงที่หลาย ๆ คนใช้เพื่อฆ่าเวลา หรือไว้ผ่อนคลายยามเครียดจากการเรียน การทำงาน แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากความบันเทิงที่ได้รับแล้ว ความสนุกเหล่านี้อาจเป็นบ่อเกิดของโรคได้อีกด้วย จะมีโรคไหนบ้างที่ต้องเฝ้าระวังวันนี้เรามีคำตอบ

เล่นเกมนานเพิ่มโอกาสเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด

โดยข้อมูลที่เราจะหยิบยกมาบอกต่อ เป็นบทความจากโรงพยาบาลเพชรเวช ที่ได้พูดถึงเรื่องการเล่นเกมเป็นเวลานาน ๆ ว่านอกจากจะได้รับความบันเทิงแล้ว สิ่งนี้ยังเป็นต้นเหตุของโรคร้ายต่าง ๆ ได้ ซึ่งหากพูดไปก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเกินจริง แต่การเล่นเกมเป็นเวลานานสามารถส่งผลต่อระบบการไหลเวียนของเลือดทางอ้อมได้ เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับการเคลื่อนไหวที่มากพอทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จนก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายได้นั่นเอง เช่น ต้นขาและปอด เป็นต้น

เล่นเกมนานเพิ่มโอกาสเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด
เล่นเกมนานเพิ่มโอกาสเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด

นอกจากนี้การเล่นเกมหรือการดูหนังบางประเภทยังทำให้อัตราเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงในเวลาต่อมา และอาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นยังเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิด “โรคหลอดเลือดหัวใจ” ได้นั่นเอง โดยโรคนี้ถือเป็นหนึ่งในโรคทางหัวใจที่มีอันตรายถึงชีวิต

ปวดเมื่อยตามร่างกายเพราะการไม่ขยับตัว

นอกจากนี้แล้วคนที่เล่นเกมหนัก ๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายไปไหน ยังมีความเสี่ยงของอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่ทำงาน (พนักงานออฟฟิศ) ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากนักในช่วงที่ทำงาน ซึ่งอาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งไม่ต่างกับอาการ ออฟฟิศซินโดรม ดังนี้

  • ปวดเมื่อยข้อมือ : มีอาการปวดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หากล่อยเอาไว้บางครั้งก็สามารถหายไปได้เอง แต่บางครั้งอาจต้องใช้เวลานานจนกว่าอาการจะดีขึ้น แต่หากปล่อยไว้นานเกินไปจากอาการปวดเล็ก ๆ ก็สามารถกลายเป็นอาการหนัก ‘โรคเอ็นข้อมืออักเสบ’ ที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  • หู : เกมเมอร์หลายคนมักสวมหูฟังอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดมีผลมาจากเยื่อบุแก้วหูเกิดความเสียหาย และอาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการได้ยินด้วย
  • ตา : อาการปวดล้าทางสายตาถือเป็นอาการปกติของคนที่จ้องหน้าจอนาน ๆ เนื่องจากเลนส์ตาทำงานร่วมกับสมองอย่างหนัก ทำให้เห็นภาพเบลอ หรือมองจุดสีได้ไม่ชัดเจน อาจจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือเกิดขึ้นบ่อย ๆ หากยังไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์
  • หลังและไหล่ : เป็นอาการปวดแบบพื้นฐานหากไม่ได้ขยับตัวเป็นเวลานาน ทำให้กระดูกสันหลังต้องทำงานหนักกว่าปกติ หากปล่อยไว้อาจทำให้กระดูกสันหลังเกิดการผิดรูปได้
ปวดเมื่อยตามร่างกายเพราะการไม่ขยับตัว
ปวดเมื่อยตามร่างกายเพราะการไม่ขยับตัว

เป็นโรคอ้วนแถมเบาหวานหากไม่รู้จักแบ่งเวลา

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่น่าเป็นกังวลนั่นคือเรื่องการรับประทานอาหาร เพราะส่วนใหญ่คนที่เล่นเกมหนัก ๆ มักมีพฤติกรรมอยู่ 2 แบบ คือ ไม่ทานมากเกินไป ก็ ทานน้อยเกินไปจนทำให้เกิดการขาดสารอาหารและโรคอ้วนได้ แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะอันตรายมาก ๆ นั่นคือโรคอ้วน เนื่องจากโรคอ้วนมักเป็นจุดเริ่มต้นของโรคที่ร้ายแรงหลายโรค ระดับไขมันในเลือด โรคหลอดเลือด และโรคเบาหวานที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้

นอกจากนี้คนที่ติดเกมหนัก ๆ ยังมีผลต่อสภาวะทางสังคม ไม่รู้จักกำหนดเวลาเล่นเกมให้พอดี ส่งผลต่อเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบข้างและคนในครอบครัว ได้แก่

  • ปัญหาด้านอารมณ์ : ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กที่ไม่ได้รับคำแนะนำที่ดีจากผู้ปกครอง ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบเกมที่เล่นอยู่ เพราะมองว่าเป็นเรื่องปกติ ที่อาจทำให้เกิดผลร้ายตามมาทีหลัง
  • ปัญหาการเข้าสังคม : หากมีการพูดคุยกับเพื่อนในเกมก็สามารถช่วยเรื่องนี้ได้ แต่บางคนก็มีนิสัยชอบเล่นเกมคนเดียวและไม่ได้ออกไปเจอใครข้างนอก ทำให้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับคนจริง ๆ ก็จะทำตัวไม่ถูกและไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้

ดังนั้นทุกคนต้องรู้จักปรับเวลาในการเล่นเกมและการเสพสื่อต่าง ๆ ให้อยู่ในกรอบเวลาที่พอดี ไม่หักโหมและเล่นหนักจนเกินไป เพราะมันไม่ได้เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตใจได้อีกด้วย หากปล่อยเอาไว้อาจถึงขั้นเจ็บป่วยจนถึงขั้นต้องไปนอนใช้ประกันสุขภาพอยู่ที่โรงพยาบาลเลยก็ได้

Categories
knowledge

นั่งดูหนัง – ซีรีส์นาน ๆ ช่วง WFH เสี่ยงโรคร้ายถามหา

หนัง ซีรีส์ การ์ตูน เป็นกิจกรรมที่ช่วยคลายเครียดช่วง Work From Home ได้เป็นอย่างดี แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่าอะไรที่มากเกินพอดีก็มักมาพร้อมปัญหาใหญ่เสมอ อย่างการนั่งดูหนัง – ซีรีส์นาน ๆ ก็ทำให้คุณเสี่ยงตกเป็นเป้าหมายของโรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิตแบบไม่ทันคาดคิด

โรคอันตรายที่มากับการนั่งดูหนัง – ซีรีส์นาน ๆ

ตั้งแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้ทุกคนต้องปรับตัวรับมือกับสถานการณ์กันอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องชีวิตการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคนเกือบ 100% มักได้รับคำสั่งให้ทำงานแบบ Work From Home ที่ช่วยให้ประหยัดเวลาเดินทาง และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้การ Work From Home ยังทำให้ใครหลายคนรู้สึกเหมือนมีเวลามากขึ้น จึงเลือกที่จะฆ่าเวลาด้วยการหาหนังหรือซีรีส์สนุก ๆ มาดูกันแบบยาว ๆ

ซึ่งทุกคนรู้หรือไม่! ว่าการดูหนังซีรีส์มาราธอนแบบไม่หยุดพัก นอกจากจะทำให้สายตาเมื่อยล้าและเสียได้แล้ว พฤติกรรมดังกล่าวยังส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและอาจทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้มากกว่าการออกไปทำงานด้านนอกตามปกติเสียอีก โดยโรคอันตรายที่มากับการนั่งดูหนัง – ซีรีส์นาน ๆ มีดังนี้

นอนไม่หลับ

แม้ว่าอาการนอนไม่หลับจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่การที่คนเรายอมอดหลับอดนอนเพื่อทนดูหนังหรือซีรีส์มาราธอนข้ามวันข้ามคืน เมื่อต้องการกลับมานอนในเวลาเดิมก็เป็นเรื่องปกติที่ร่างกายจะรู้สึกหลับได้ยากขึ้น แถมยังรู้สึกเพลียมาก ๆ หลังตื่นนอนอีกด้วย (หลับยากตื่นยาก) ซึ่งหากคุณปล่อยให้นาฬิกาชีวิตหมุนผิดเวลาแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อการนอนหลับเท่านั้น แต่อาจส่งผลไปถึงการทำงานของสมองในเรื่องของความจำอีกด้วย ดังนั้นปรับเวลานอนให้พอจะดีที่สุด

โรคอันตรายที่มากับการนั่งดูหนัง – ซีรีส์นาน ๆ
โรคอันตรายที่มากับการนั่งดูหนัง – ซีรีส์นาน ๆ

กระดูกสันหลังผิดปกติ

ส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะดูหนังหรือซีรีส์ในท่าเดิม ๆ ที่ถนัดมากที่สุด เช่น นอนบนโซฟา เก้าอี้ยาว นอนบนเตียง หรือแม้แต่นั่งบนเก้า ที่บางครั้งอาจไม่ใช่ท่านั่งที่ดีเท่าไหร่นัก นั่งไปนาน ๆ จึงอาจส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังได้ หากคุณยังมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ โดยที่ไม่เปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้อง ก็มักมีความเสี่ยงกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้นได้นั่นเอง

โรคอ้วน

ความอ้วน โรคอ้วนเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายมากมาย ดังนั้นหากคุณยังคสิงอยู่ที่โซฟาตัวโปรดหรือเตียง โดยที่ไม่ยอมขยับร่างกายไปไหน จะลุกก็เพียงแค่เวลาหาของกินเท่านั้น ก็มักมีความเสี่ยงมากที่จะเกิดโรคอ้วน น้ำหนักขึ้น และอาจพัฒนาไปถึงโรคความดันโลหิต เบาหวาน และไขมันเส้นเลือดได้อีกด้วย

Computer Vision Syndrome

คนส่วนใหญ่รับชมซีรีส์ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ การจ้องหน้าจอนาน ๆ ซึ่งนี่ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงกับอาการ Computer Vision Syndrome ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยที่ใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป และอยู่ในที่มีความสว่างไม่เพียงพอ หรือเกิดจากความสว่างของหน้าจอที่ปรับไว้ไม่เหมาะสมในขณะใช้งาน ทำให้เกิดอาการอาการตาพร่ามัว ล้าตา ตาแห้ง เคืองตา เจ็บตา ปวดรอบดวงตา เห็นภาพซ้อน บางรายอาจมีการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดไหล่ และหลังร่วมด้วย เนื่องจากอยู่ในท่านั่งการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม หรือเกิดจากค่าสายตาที่ไม่ได้รับการแก้ไข อาทิ สายตายาว สายตาเอียง

โรคร้ายและภัยอันตรายมีอยู่รอบตัว ดังนั้นใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท ไม่ฝืนร่างกายของตัวเองมากเกินไป ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคที่เป็นอันตรายได้หลายเปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้เลือกทำประกันสุขภาพคุ้มครองชีวิตไว้แต่เนิ่น ๆ ก็ดีไม่น้อย เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง อย่างน้อยสิ่งนี้ก็ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายของเราไว้ได้ ไม่ต้องกังวล แถมยังได้สุขภาพดี ๆ กลับคืนมาอีกด้วย