วงการหนังไทยฟีเวอร์ จะกลับมาได้อีกหรือไม่
หากย้อนไปราว ๆ 20 ปีก่อน ภาพยนตร์ไทยถือว่าได้รับกระแสที่ดีทั้งจากคนไทยไปจนถึงคนต่างชาติ ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขของรายได้ที่มีมาก และนับว่าเป็นความรุ่งเรืองที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าในตอนนี้วงการภาพยนตร์ไทยกำลังดำดิ่งลึกลงไปแบบกู่ไม่กลับ
ซึ่งในช่วงยุคหนังไทยฟีเวอร์ จะมีภาพยนตร์หลากหลายแนวออกมาให้เราได้ทำความรู้จัก และเฝ้ารอคอยที่จะติดตามมันอยู่เสมอ อาทิ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ภาพยนตร์ระทึกขวัญที่สามารถเข้ามาเขย่าประสาทคนได้ทุกเพศทุกวัย หรือภาพยนตร์ที่แสดงออกศิลปะการต่อสู้ของไทยอย่าง องก์บาก แต่หลังจากนั้นกระแสภาพยนตร์ไทยกลับไม่สู้ดีนัก แล้วภาพยนตร์ไทยจะเป็นไปในทิศทางไหนกันแน่?

เหตุใดภาพยนตร์ไทยจึงย่ำอยู่กับที่?
ซึ่งจากความประสบผลสำเร็จของผู้สร้างในภาพยนตร์ 2 เรื่องที่เราได้กล่าวไป เราก็ปฏิเสธไม่ได้อีกว่าหลังจากความสำเร็จนั้นเกิดขึ้น ก็มักจะมีหนังประเภทเดียวกัน แนวคิดเหมือนกัน หักมุมเหมือนกันออกมาฉายให้เห็นแบบเกลื่อนตลาด และแน่นอนเลยว่าหากเราเป็นผู้ชม การได้ชมหนังที่สามารถคาดเดาตอนต่าง ๆ วนเวียนมาถึงฉากซ้ำ ๆ ก็คงทำให้เราขยาดจนไม่อยากเสพมันต่อ
หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเกิด ‘การสร้างสูตรสำเร็จ’ ขึ้นมา เป็นวงจรของหนังไทย ที่เริ่มอย่างไรก็ขอให้จบอย่างนั้น หรือเริ่มเรื่องไม่เหมือนกันแต่ตอนจบดันเหมือนกันซะงั้น นั่นก็ทำให้เกิดความจำเจของเนื้อหา และทำให้ผู้ชมหมดความศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อหนังไทยในเรื่องต่อ ๆ ไป

เมื่อไม่มีแนวคิดใหม่เกิดขึ้น แต่ใจของผู้สร้างก็ยังคงต้องการที่จะดันผลงานของตัวเองอยู่ ท้ายที่สุดก็สามารถเดาตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เลยว่า ‘ขาดทุน’ ‘กำไรน้อย’ ‘ไม่ประสบความสำเร็จ’
หรือจริง ๆ หนังไทยดีแต่ไม่มีคนผลักดัน
ซึ่งหลังจากที่วงการหนังไทยเงียบเหงามานาน ในปีพ.ศ.2556 ภาพยนตร์ไทยก็กลับมายิ้มหน้าบานได้อีกครั้ง จากการประสบความสำเร็จของ พี่มาก..พระโขนง หนังผีตลกที่ได้มีการดัดแปลงเนื้อเรื่องตำนานหนังไทยสุดหลอนอย่าง นางนาก มาสร้างสรรค์ใหม่ให้มีความคอมเมดี้ และแน่นอนเลยว่าด้วยแนวคิดใหม่ ๆ ที่นำมาผสมผสานกับเนื้อหาที่คนดูพอรู้อยู่แล้ว ทั้งยังรวบรวมนักแสดงมากฝีมือมาร่วมแสดง ท้ายที่สุดภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้กวาดรายได้ทั้งในไทยและต่างประเทศไปอย่างท่วมท้นเลยทีเดียว

แต่หลังจากนั้นก็วนเข้าสู่ลูปเดิม ที่ภาพยนตร์ไทยย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเรื่องนี้ทางเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพภาพยนตร์ เชื่อว่าการที่โรงภาพยนตร์ในไทยมีเพียงแค่ 2 รายใหญ่ที่ผูกขาด ทำให้มีการเลือกสรรเวลาในการฉายแบบไม่พอดี
โดยเราจะเห็นได้ชัดเลยว่าเมื่อมีหนังทำเงินจากฮอลลีวูดเข้ามา โรงภาพยนตร์มักจะจัดรอบฉายพร้อม ๆ กัน หรือไม่ก็เป็นรอบฉายเวลาไล่เลี่ยกัน โรงติดกัน ซึ่งนั่นเท่ากับว่ามีที่ว่างเหลือให้ภาพยนตร์ไทยแบบน้อยนิด เครือข่ายดังกล่าว จึงได้มีการยื่นข้อเสนอ ‘การแบ่งสัดส่วนการฉายภาพยนตร์ไทยที่เหมาะสม’ จาก พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ฉบับ พ.ศ. 2551 หมวด 1 มาตรา 9 วรรค 5 ที่มีการใช้ แต่ใช้แบบไม่จริงจัง
ถึงเวลาแล้วที่หนังไทยควรปรับเปลี่ยนรูปแบบรับวิกฤตใหม่
ซึ่งแน่นอนเลยว่า ณ ขณะนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นอีกหนึ่งคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังโหมกระหน่ำซัดมาที่วงการหนังไทย เนื่องจากโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่ยังคงต้องปิดให้บริการ ประกอบกับเว็บอินเทอร์เน็ตหรือเว็บสตรีมมิ่งต่าง ๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น นั่นยิ่งทำให้การรับชมหนังของคนกลายเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าเดิม

ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ผู้สร้างหนังไทยควรที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ปรับเปลี่ยนคอนเทนต์ ฉีกกฎเดิม ๆ ที่มีอยู่ อัดแน่นคุณภาพของภาพยนตร์ลงไปแบบไม่มีกั๊ก หรือหากต้องการจะสร้างหนังที่ตีแผ่โลกมืด ความเป็นจริง สังคม การพนัน หรือแม้แต่การสมัครบาคาร่า ออนไลน์ ที่กำลังเป็นที่นิยม ก็สร้างสรรค์ออกมาอย่างเต็มเม็ดเต็มด้วย เพื่อให้ถูกจริตและถูกใจความต้องการของคนในปัจจุบัน